วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2558

การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation)

นางสาวธนพร   สอนนุ้ย เลขที่ 20 ห้อง 5/10
กลุ่มที่ 8
ปัญหาที่นักเรียนศึกษา  ปัญหาเด็กติดเกมส์
ที่มาและความสำคัญของปัญหา
เนื่องจากเด็กในสมัยใหม่ยุคเทคโนโลยีก้าวหน้า ทำให้มีการสื่อสารหลายด้านและทำให้เกิดเป็นปัญหาในสังคมไทยขึ้นมา คือปัญหาเด็กติดเกมส์ เด็กลดความสนใจในการศึกษามาค้นคว้าด้านเกมส์เป็นส่วนใหญ่ โดยส่วนมากเกี่ยวกับเกมส์ออนไลน์ที่สื่อสารกันได้ทั่วไปทั้งในและนอกประเภท ทำให้เด็กติดเกมส์จนไม่สนใจเรื่องรอบตัวที่ควรรับรู้ เราจึงเลือกที่จะศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเรื่องโรคติดเกมส์
ในโลกเราสมัยนี้มีเทคโนโลยีมากมายที่ทันสมัยขึ้นทำให้ผู้ใหญ่ในบางครอบครัวมีความรู้ล่าช้ามากกว่าเด็ก ทำให้สอนพวกเขาเหล่านี้ไม่ได้ อีกทั้งมีเพื่อนเกมส์ทางโลกเกมส์ออนไลน์ โลกSocial Mediaอีกมากมาย ทำให้เกิดเป็นปัญหายิ่งมีเทคโนโลยีมากก็ยิ่งมีปัญหาตามมาอีกมากมาย 
วัตถุประสงค์
 1. ศึกษจำนวนผู้เสี่ยงติดเกมส์และผลเสียของโรคติดเกมส์
 2. สร้างหนังสั้นเกี่ยวกับเด็กติดเกมส์.
 3. เพื่อศึกษาค้นคว้าเรื่องเด็กติดเกมส์ว่าควรระวังอย่างไร แก้ไขได้อย่างไร
 4. เพื่อเป็นประโยชน์ให้แก่ผู้ศึกษาว่าโรคติดเกมส์มีผลกระทบอย่างไร
ผลการศึกษา
ทราบจำนวนผู้เสี่ยงติดเกมส์เพื่อนำไปวิเคราะห์ว่าสังคมเรา มีปัจจัยใดที่ทำให้เด็กติดเกมส์และศึกษาต่อว่าเมื่อเด็กติดเกมส์เล่นเกมส์เป็นเวลานนานแล้วเกิดผลเสียอะบ้าง จะนำได้ผลเสียที่ได้ไปสู้วิธีการป้องกัน และระมัดระวังไม่ให้เด็กติดเกมส์ หรือ ถ้าเขาติดเกมส์ไปแล้วควรแก้ไขยังไง โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบเมื่อเด็กเสี่ยงติดเกมส์ 
เสนอแนวคิดในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยองค์ความรู้จากการค้นพบ
                การเราจะแก้ไขสาเหตของเด็กติดเกมส์นั้นเราต้องดูจากต้นตอของปัญหา ถ้าเหตมันมาจากตัวเราเอง อาจจะเพราะเราเบื่อ อย่างลองอะไรใหม่ๆ แต่ด้วยความที่เราไม่สามารถควบคุมความอยากของเราได้ ทำให้เราเล่นเกมส์เกินขนาด ดังนั้นเราจึงต้องควบคุมความอยากของเราให้ได้ คิดพิจรณาถึงผลที่ตามมาหากเราเล่นเกมส์มากเกินไป หรืออาจจะมาจากครอบครัว คือ หากครอบครัวไม่สนใจเด็กหรือไม่ค่อยได้ทำกิจกรรมร่วมกันบ่อย เด็กอาจจะเบื่อและเกมส์ก็เป็นทางออกหนึ่งที่ทำให้เด็กหายเบื่อ เราจึงควรที่จะหากิจกรรมท่ำร่วมกับครอบครัว เช่น  อเล่นกีฬาด้วยกัน ไปเที่ยวด้วยกัน ก็เป็นทางหนึ่งที่ทำให้เด็กรู้สึกไม่เบื่อหน่าย  หรือเพื่อน ถ้าหากเราคบเพื่อนที่ติดเกมส์ เราก็ต้องเสี่ยงติดเกมส์ตามเพื่อนไปด้วย เพราะเราต้องปรับตัวให้เข้าสภาพแวดล้อมสังคม การเลือกคบเพื่อนจึงเป็นสิ่งสำคัญในการเลือกทางเดินชีวิต และอีกอย่างที่สำคัญคือเทคโนโลยีในปัจจุบันเรา เนื่องจากปัจจุบันมีเทคโนโลยีเข้ามาแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นทางคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ หรือแม้กระทั้งเกมส์ตู้ทางห้างสรรพสินค้า ทำให้เด็กหนีไม่พ้นเกมส์ได้จริงๆ ดังนั้นเราควรจึงใช้เทคโนโลเหล่านี้ให้ถูกต้อง และพอเหมาะแก่ความต้องการของเด็ก
นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการเรียนวิชา IS1
     1. ได้ฝึกการเรียนรู้ด้วยตัวเองจากการหาข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์
     2. สามารถสร้างบล็อกของตนเองได้ และนำบล็อกที่สร้างไปใช้ประโยชน์
      3. ฝึกการทำหนังสั้นพื้นฐาน  เพื่อนำไปประยุกต์ต่อในการถ่ายทำหนังสั้นจริงๆ
      4. ฝึกให้รู้จักการทำงานเป็นขั้นตอน ตามหลักของโครงงาน
      5. สามารถแชร์ drive ให้ผู้อื่นได้
      6. ได้ฝึกการทำงานการเป็นกลุ่ม

วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

แหล่งที่มา

http://jpv.chanpradit.ac.th/pooh/index%208.html

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=900207

การบริโภคพืชสวนครัวให้ปลอดภัยจากสารพิษ

   การบริโภคพืชสวนครัวให้ปลอดภัยจากสารพิษ         



     การปลูกผักไว้รับประทานเอง เป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้ได้บริโภคผักที่ปลอดภัยจากสารพิษ แต่ทุกครอบครัวคงไม่สามารถปลูกผักทุกชนิดไว้รับประทานเองได้ ดังนั้นการต้องซื้อหาผักจากตลาดจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอยู่ ทั้งนี้ผักต่าง ๆ เหล่านี้อาจจะปลอดภัยหรือไม่ปลอดภัยจากสารพิษตกค้างก็ได้ ดังนั้นควรมีการล้างผักให้ถูกวิธีและให้ปลอดภัยจากสารพิษมากที่สุด วิธีการล้างผักให้สะอาดเพื่อลดปริมาณสารพิษ สามารถเลือกใช้ได้ตามความสะดวกดังนี้
1. ลอกหรือปอกเปลือกแล้วแช่ในน้ำสะอาด นาน 5-10 นาที หลังจากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง จะช่วยลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 27-72
2. แช่น้ำปูนใสนาน 10 นาที และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 34-52
3. แช่โฮโดรเจนเพอร์ออกไซน์นาน 10 นาที (โฮโดรเจนเพอร์ออกไซน์ 1 ช้อนชา ผสมน้ำ 4 ลิตร) และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 35-50
4. แช่น้ำด่างทับทิมนาน 10 นาที (ด่างทับทิม 20-30 เกล็ด ผสมน้ำ 4 ลิตร ) และล้างออกด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 35-43
5. ล้างด้วยน้ำไหลจากก๊อกนาน 2 นาที ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 25-39
6. แช่น้ำซาวข้าวนาน 10 นาที และล้างด้วยน้ะสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 29-38
7. แช่น้ำเกลือนาน 10 นาที (เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 4 ลิตร) และล้างด้วยน้ำะสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 29-38
8. แช่น้ำส้มสายชูนาน 10 นาที (น้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 4 ลิตร) และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 27-36

9. แช่น้ำยาล้างผักนาน 10 นาที และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 22-36

การปฏิบัติดูแลรักษาพืชสวนครัว

การปฏิบัติดูแลรักษา



การดูแลรักษาด้วยความเอาใจใส่ จะช่วยให้ผักเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์จนถึงระยะเก็บเกี่ยว การดูแลรักษาดังกล่าว ได้แก่
1. การให้น้ำ การปลูกผักจำเป็นต้องให้น้ำเพียงพอ การให้น้ำผักควรรดน้ำในช่วง เช้า- เย็น ไม่ควรรดตอนแดดจัด และรดน้ำแต่พอชุ่มอย่าให้โชก
2. การให้ปุ๋ย มี 2 ระยะคือ
2.1 ใส่รองพื้นคือการใส่เมื่อเวลาเตรียมดิน หรือรองก้นหลุมก่อนปลูก ปุ๋ยที่ใส่ควรเป็นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก คลุกในดินให้ทั่วก่อนปลูกเพื่อปรับโครงสร้างดินให้โปร่งร่วนซุย นอกจากนั้นยังช่วยในการอุ้มน้ำและรักษาความชื้นของดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชด้วย
2.2 การใส่ปุ๋ยบำรุง ควรใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อย้ายกล้าไปปลูกจนกล้าตั้งตัวได้แล้ว และใส่ครั้งที่ 2 หลังจากใส่ครั้งแรกประมาณ 2-3 สัปดาห์ การใส่ให้โรยบางๆ ระหว่างแถว ระวังอย่าให้ปุ๋ยอยู่ชิดต้น เพราะจะทำให้ผักตายได้ เมื่อใส่ปุ๋ยแล้วให้พรวนดินและรดน้ำทันที สูตรปุ๋ยที่ใช้กับพืชผัก ได้แก่ ยูเรีย หรือ แอมโมเนียซัลเฟต สำหรับบำรุงต้นและใบ และปุ๋ยสูตร 15-15-15 และ 12-24-12 สำหรับเร่งการออกดอกและผล

3. การป้องกันกำจัดศัตรูพืช ควรบำรุงรักษาต้นพืชให้แข็งแรงโดยการกำจัดวัชพืช ให้น้ำอย่างเพียงพอและใส่ปุ๋ยตามจำนวนที่กำหนดเพื่อให้ผักเจริญเติบโต แข็งแรง ทนต่อโรคและแมลง หากมีโรคและแมลงระบาดมากควรใช้สารธรรมชาติ หรือใช้วิธีกลต่างๆ ในการป้องกันกำจัด เช่น หนอนต่างๆ ใช้มือจับออก ใช้พริกไทยป่นผสมน้ำฉีดพ่น ใช้น้ำคั้นจากใบหรือเมล็ดสะเดา ถ้าเป็นพวกเพลี้ย เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย และเพลี้ยจั๊กจั่น ให้ใช้น้ำยาล้างจาน 15 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นใต้ใบเวลาเย็น ถ้าเป็นพวกมด หอย และทาก ให้ใช้ปูนขาวโรยบางๆ ลงบริเวณพื้นดิน

การปลูกพืชสวนครัวตระกูลโหระพา กะเพรา แมงลัก และตระกูลผักชีฝรั่ง





พืชตระกูลโหระพา กะเพรา แมงลัก และตระกูลผักชีฝรั่ง ได้แก่ โหระพา กะเพรา แมงลักและผักชีฝรั่ง

                - เตรียมดินให้ละเอียด หว่านเมล็ดให้ทั่วแปลง ใช้ฟางกลบ หรือ ปุ๋ยคอกที่ย่อยสลายดี แล้วโรยทับบาง ๆ รดน้ำตามทันทีด้วยบัวรดน้ำตาถี่

                - เมล็ดจะงอกเป็นต้นกล้าภายใน 7 วัน

                - เมื่อกล้าอายุ 1 เดือน ถอนแยกจัดระยะต้นให้โปร่ง หรือใช้ระยะระหว่างต้น ประมาณ 20-30 เซนติเมตร- โหระพา กะเพรา แมงลัก เก็บเกี่ยวได้หลังหยอดเมล็ด 45-50 วัน ผักชีฝรั่ง เก็บเกี่ยวได้หลังหยอดเมล็ด 60 วัน

                - สำหรับโหระพา กะเพรา และแมงลัก ในระหว่างการเจริญเติบโตให้หมั่นเด็ดดอกทิ้งเพื่อให้ลำต้นและใบเจริญเติบโตได้เต็มที่


                - ผักชีฝรั่ง ตัดใบไปรับประทาน เหลือลำต้นทิ้งไว้จะสามารถเจริญเติบโตได้อีก

การปลูกพืชสวนครัวตระกูลผักชีและตระกูลผักบุ้ง




พืชตระกูลผักชีและตระกูลผักบุ้ง ได้แก่ ผักชี ขึ้นฉ่าย ผักบุ้ง

                - ควรนำเมล็ดแช่น้ำก่อนปลูก ถ้าเมล็ดลอยให้ทิ้งไปและนำเมล็ดที่จมน้ำมาเพาะ

                - หว่านเมล็ดในแปลง โดยจัดแถวให้ระยะห่างกัน 15-20 เวนติเมตร กลบดินทับบาง ๆ ประมาณ 1 เซนติเมตร สำหรับขึ้นฉ่าย

                - ผักบุ้งจะงอกใน 3 วัน ผักชีประมาณ 4-8 วัน และขึ้นฉ่าย 4-7 วัน

                - เมื่อกล้างอกมีใบจริง ถอนแยกและพรวนดินให้โปร่งเสมอจนเก็บเกี่ยว

                - ผักบุ้งจีนเก็บเกี่ยวได้ภายใน 15-20 วัน ผักชี 45-60 วัน และขึ้นฉ่าย 60-70 วัน


                - สำหรับผักชีและขึ้นฉ่าย ไม่ชอบแสงแดดจัด อาจปลูกในที่ ๆ มีร่มเงาได้ แต่สำหรับผักบุ้งจีน ต้องการแสงแดดตลอดวัน

การปลูกพืชสวนครัวตระกูลพริก-มะเขือ





พืชตระกูลพริก-มะเขือ ได้แก่ พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า มะเขือเปราะ มะเขือยาว มะเขือพวง มะเขือเทศ

                - ผักตระกูลนี้ควรมีการเพาะกล้าก่อนย้ายปลูกในแปลง

                - การเพาะกล้า เตรียมดินในกะบะเพราะหรือในถุงพลาสติก

                - หยอดเมล็ดในถุงเพาะ ถุงละ 3 – 5 เมล็ด ถ้าเพาะในกะบะเพาะ ควรเว้นระยะระหว่างต้น 5 เซนติเมตร ระหว่างแถว 10 เซนติเมตร

                - เมื่อเมล็ดงอกแล้วมีใบจริง 2-3 ใบ ถอนแยกเหลือต้นกล้าแข็งแรงสมบูรณ์ไว้ 2 ต้น

                - เมื่อกล้ามีใบจริง 5-6 ใบ หรือหลังเพาะกล้าประมาณ 30 วัน ย้ายกล้าลงแปลงปลูก

                - เมื่อต้นกล้าตั้งตัวได้ หรือเริ่มเจริญเติบโต ใส่ปุ๋ยยูเรีย 1 ครั้ง

                - เมื่อต้นเริ่มออกดอกใช้ปุ๋ย 15-15-15 หรือ 12-24-12


                 -อายุเก็บเกี่ยว มะเขือเทศประมาณ 50-60 วัน หลังย้ายกล้า และพริก มะเขือ ประมาณ 60-75 วัน หลังย้ายกล้า